-
การผ่าตัดผ่ากล้อง Laparoscopic Surgery/Endoscopic Surgery
-
การผ่าตัดกระเพาอาหารเพื่อลดน้ำหนักในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายสูงผิดปกติ (Total Laparoscopic Sleeve Gastrectomy)
-
การใส่บอลลูนในกระเพาอาหารเพื่อลดน้ำหนักในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายสูงผิดปกติ(Gastric Balloon)
- Gastric Balloon การผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัดที่นิยมใช้ศัพท์ทางการแพทย์ว่า Minimal invasive Surgery: MIS
- การผ่าตัดผ่านกล้องเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า การผ่าตัดแบบนี้ มีประโยชน์อย่างมากทางการแพทย์ เช่น แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อย ภาวะแทรกซ้อนน้อย นอนโรงพยาบาลน้อย ใช้ยาน้อย นอนไม่นาน บางการผ่าตัด นอน 1 วัน กลับบ้านได้ ขึ้นกับ ความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นหลักและมีขัอจำกัด หลายอย่าง ในโรคบางโรคที่ทำไม่ได้ หรือ โรคที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ เนื่องจาก เป็นการผ่านตัดผ่ากล้อง ไม่ใช่ การผ่าเปิดหน้าท้องที่มีแผลขนาดใหญ่
- ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
- ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 0.5– 1 เซนติเมตร จำนวน ไม่เกิน 4 จุด ที่ผนังหน้าท้อง
- ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีเดิม
- ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ภายใน 1 วันหลังผ่าตัด และสามารถออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้านได้เร็ว
- ไม่ต้องหยุดงานนาน พักฟื้นที่บ้านเพียง 1–2 สัปดาห์ สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนภาวะปกติ
- การเกิดพังผืด และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด พบน้อยกว่าการผ่าตัดวิธีเดิม
- ข้อเสียของการผ่าตัดผ่านกล้อง
- แพทย์ผู้ผ่าตัดต้องมีทักษะและความชำนาญสูงในการผ่าตัด
- มีข้อจำกัดในการผ่าตัดใน โรคบางโรคที่ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
การใส่บอลลูนในกระเพาอาหารเพื่อลดน้ำหนักในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายสูงผิดปกติ(Gastric Balloon)
วิธีการใส่ Gastric Balloon
คนไข้ที่สามารถเข้ารับบริการในการใส่ Gastric Balloon looksclinic
-
ดัชนีมวลกายควรมากกว่า 30 BMI>30
-
คนไข้ที่ต้องการลดน้ำหนักแต่ไม่สามารถลดได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
- คนไข้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดกระเพาอาหาร
คนไข้ที่ไม่สามารถเข้ารับบริการในการใส่ Gastric Balloon
- มีก้อนในกระเพาอาหาร
- มีโรคกล้ามเนื้อหูดรูดกระเพาอาหารผิดปกติ
- มีภาวะหลอดอาหารไม่ตรงหรือหลอดอาหารคตตัวผิดปกติ
- มีภาวะการรอักเสบในทางเดินอาหารส่วนต้น หรือส่วนใดส่วนนึง
- มีภาวะกลืนลำบาก หรือ หลอดอาหารตีบผิดปกติ
- เคยผ่าตัดกระเพาหรือผ่าตัดบายพาสกระเพาอาหาร
- เคยมี Gastric Ballon อยู่แล้ว